วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

White Ocean Strategy คืออะไร???

                                                 White Ocean Strategy คืออะไร???


              การล่มสลายของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ในอเมริกา วัฏจักรของวิกฤตเศรษฐกิจที่หวนกลับมาถล่มโลกเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา ทำให้ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย นักการตลาดและประชาสัมพันธ์ ที่ยึดมั่นในแนวทางสีขาว ลุกขึ้นมาเขียนหนังสือ ที่มีชื่อว่า "White Ocean Strategy" หรือกลยุทธ์น่านน้ำสีขาว ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนสำหรับองค์กรธุรกิจในโลกปัจจุบันและอนาคต
ที่ผ่านมา ตำราเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการของต่างประเทศ จะพูดถึงกลยุทธ์ น่านน้ำสีเลือด หรือ Red Ocean Strategy ซึ่งเคยเป็นหนทางหนึ่งที่เคยช่วยให้หลายธุรกิจประสบความสำเร็จ แต่ในความสำเร็จนั้น กลับก่อให้เกิดความรุนแรงในแวดวงธุรกิจ เพราะด้วยวิถีทางแห่งการแข่งขันเพื่อให้ได้ มาซึ่งความเป็น "เบอร์หนึ่ง" การมุ่งเอาชนะคู่แข่ง เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดที่มาก กว่าโดยไม่สนใจสิ่งอื่นใดนั้น นอกจากจะทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดแล้ว ยังมีโอกาสเกิดการบาดเจ็บทางธุรกิจด้วยกันทุกฝ่าย
              ส่วน Blue Ocean Strategy กลยุทธ์ น่านน้ำสีคราม เป็นแนวทางดำเนินธุรกิจที่หลีกเลี่ยงการแข่งขันทางการตลาดแบบเดิม กลยุทธ์น่านน้ำสีครามจะไม่แข่งขันผลิตสินค้ารูปแบบเดียวกันป้อนสู่ตลาด ไม่เอาชนะกันด้วยสินค้าลอกเลียนแบบ แต่จะเลือกพัฒนาสินค้าของตนให้แหวกแนวไปจากที่มีอยู่
กลยุทธ์นี้เคยสร้างยอดขายถล่มทลาย มาแล้วในสินค้าหลายชนิด แต่กลยุทธ์น่านน้ำสีครามก็ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจต้องเหนื่อยกับการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อวิ่งหนีคู่แข่ง ซึ่งนั่นคือการหนีที่ไม่มีวัน สิ้นสุด!
             White Ocean Strategy กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว เป็นพื้นฐานในการบริหารงานและใช้ชีวิตที่ตั้งมั่นอยู่บนคุณงามความดี มีศีลธรรม และปรับมุมมองจากการตักตวงผลประโยชน์จากสังคม มาเป็นการช่วยเหลือ แบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งของส่วนรวม โดยไม่วาง "ตัวเอง" เป็นศูนย์กลาง และไม่เห็น "ผลกำไร" เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดจนละเลยมิติด้านอื่น
แนวทางนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน บนความสมดุลของ People (สังคม ประชาชน และกลุ่มเป้าหมายทุกภาคส่วน) Planet (ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ทั้งกายภาพและจินตภาพ) Profit (กำไรที่เหมาะสมและแบ่งปันกับส่วนรวม) โดยมี Passion ความมุ่งมั่นศรัทธาในการทำงานขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
             "กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว คือ ทางสายกลางที่เป็นทางออกของวิกฤตด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จากความล่มสลายของทาง สุดโต่ง 2 สาย ทั้งระบบสังคมนิยมที่ขาดแรงกระตุ้นให้มนุษย์พัฒนาศักยภาพเนื่องจากปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สู่ความล่มสลายของระบบทุนนิยม (Pure Capitalism) ที่มุ่ง เน้นสร้างผลกำไรและปั่นตัวเลข บนความโลภและการปลูกฝังผิดๆ ให้สร้างความมั่งคั่งสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น จนขาดศีลธรรมและสติ ส่งผลให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก"

อ้างอิง   http://board.palungjit.com/

วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักบริหาร คืออะไร

นักบริหาร
1. ผู้บริหารต่างจากผู้นำอย่างไร
2. ผู้บริหารที่ดีมีลักษณะอย่างไร
3. ผู้บริหารที่แย่มีลักษณะอย่างไร
                1. ผู้บริหาร คือ ผู้มีศิลปะในการใช้คนให้ทำงานให้ตนจนประสบความสำเร็จ ผู้นำ คือ ผู้ที่คนอื่นอยากเดินตาม และไม่จำเป็นต้องอยู่ในองค์กร หากแต่อยู่ที่ไหนก็ได้ในโลกนี้ ผู้นำมี 2 ประเภท คือ
                     (1) ผู้นำที่ดำรงตำแหน่งหนักไปทางกอดเก้าอี้ ไม่กล้าตัดสินใจ อยู่ในตำแหน่งไปวัน ๆ ถ้าลูกน้องทำงานดี เจ้านายรีบฮุบเป็นผลงานของตน แต่ถ้าลูกน้องทำงานแย่ เคราะห์กรรมจะตกที่ลูกน้องคนเดียว
                     (2) ผู้นำการเปลี่ยนแปลง คือ ผู้ที่ขึ้นมานำด้วยความรู้ความสามารถจริง ๆ ผู้นำชนิดนี้มีลักษณะการทำงานคือ เป็นผู้ที่ดีจริง เก่งจริง และมีไมตรีจิตกับคนรอบข้าง จนคนอื่นอยากเดินตาม อยากทำงานด้วย ลักษณะเด่นของผู้นำการเปลี่ยนแปลงคือ มีวิสัยทัศน์ มีความดีงาม โปร่งใส กล้าตัดสินใจ ไม่มองข่ามหัวคน และสามารถ "นั่งอยู่ในใจคน" มากกว่า "นั่งบนหัวคน"
                ว่ากันว่า เมื่อแรกที่คณะ คปค. ตัดสินใจคิดปฏิวัติเมื่อ 7 -8 เดือนก่อนหน้านั้น ผู้นำของ คปค. บางคนตั้งธงในใจเอาไว้ล่วงหน้าด้วยซ้ำไปว่า นายกรัฐมนตรีหลังการปฏิวัติต้องชื่อ “ สุรยุทธ์ จุลานนท์ ” เท่านั้น เหตุผลสำคัญก็เพราะว่า พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นผู้นำประเภทที่สองซึ่งสามารถนั่งอยู่ในใจคนได้นั้นเอง
                2. ผู้บริหารที่ดี ควรมีคุณสมบัติทั่วไป 25 ประการ
                     (1) มีความรู้ดี
                     (2) มีความประพฤติดี
                     (3) มีจิตใจดี/เมตตา
                     (4) มีเกียรติประวัติดี
                     (5) มีวิสัยทัศน์
                     (6) มีความสามารถเชิงบริหารจัดการ
                     (7) มีศิลปะการใช้คนให้เหมาะกับงาน
                     (8) มีมนุษยสัมพันธ์เยี่ยม
                     (9) มีความยืดหยุ่น
                     (10) ไม่มองข้ามหัวคนเล็กคนน้อย
                     (11) รู้จักแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับกาลเทศะ
                     (12) มีเครือข่ายกัลยาณมิตร (เพื่อนที่ดี)
                     (13) มีจิตสำนึกสาธารณะ
                     (14) ยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ที่แตกต่างอย่างสงบ
                     (15) เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้ทำงาน
                     (16) กล้าคิดสร้างสรรค์-กล้าเสี่ยง-กล้าล้มเหลว-กล้าตัดสินใจ
                     (17) ยึกจริยธรรมนำการบริหาร
                     (18) เป็นนักประสานสิบทิศ
                     (19) มีไอคิวสมดุลกับอีคิว
                     (20) มีเครดิตทางการเงินและทางสังคม
                     (21) มีชีวิตชีวาและอารมณ์ขันขณะทำงาน
                     (22) ไม่ขาดการบริหารกายและจิต
                     (23) ไม่ยึดติดตำแหน่งจนตัวตาย
                     (24) ไม่เสียดายเงินยิ่งไปกว่าครอบครัว
                     (25) หัวเราะเยาะตัวเองได้ยามล้มเหลว
                3. ผู้บริหารที่แย่ มีคนเขียนไว้เล่นๆ หากคิดตามก็เห็นว่ามีความเป็นจริงรองรับอยู่ไม่น้อย เหมือนกัน จึงขอ "ยืม" มาให้อ่านกัน เช่น เวลาลูกน้องทำงาน ผู้บริหารที่แย่จะมีท่าที
" เร็วก็หาว่าล้ำหน้า
ช้าก็หาว่าอืดอาด
โง่ก็พาตวาด
พาฉลาดก็ถูกระแวง
ทำก่อนบอกไม่ได้สั่ง
ครั้นทำทีหลังบอกไม่รู้จักคิด
คนดี ๆ ถูกถีบให้ไปไกลตัว
แต่กลับเอาคนชั่วมาใกล้ชิด"


ที่มา : โดย "ว.วชิรเมธี" นิตยสารแพรว ฉบับที่ 652 วันที่ 25 ตุลาคม 2549


ยินดีต้อนรับสู่บล๊อกของหนู....^^"

3....2....1....  คุณพร้อมปัยกับเรารึยัง
ขอเชิญพบกับ blogger  ที่น่าสนใจ  และบทความเกี่ยวกับการบริหารที่เป็นประโยชน์ต่อคุณ
ถ้าคุณพร้อมแล้ว
ไปพร้อมกับเราเลยคร๊ะ
GO!!!